เลือกอุปกรณ์กันกรนอย่างไรให้ได้ผล

กรณีที่ 1 กลุ่มเนื้อเยื่อในลำคออ่อนตัวเกินไป ทำให้หย่อนตามแรงโน้มถ่วงลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจ สังเกตอาการเบื้องต้นคือ นอนหงายกรนเป็นส่วนใหญ่ นอนตะแคงกรนแทบไม่มีเพราะเนื้อเยื่อหย่อนลงในเส้นทางอื่นที่ไม่อุดกั้นทางเดินหายใจ เคสนี้อาจนอนอ้าหรือหุบปากกรนก็ได้ ทั้งคนผอมและคนน้ำหนักเยอะมีโอกาสเป็นสาเหตุนี้ วิธีแก้ไขคือ ซิลิโคนครอบฟัน ฟันยางแก้นอนกรน , สายคาดคาง ผ้าคาดคาง รัดคางป้องกันกรน เพื่อยกระดับเนื้อเยื่อไม่ให้หย่อน และสายคาดคางเพื่อให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปนอนในท่าที่สบายและไม่กรน


กรณีที่ 2 ระบบทางเดินหายใจไม่ปกติ เช่น คนที่มีขนาดรูจมูกแคบจากกรรมพันธุ์หรืออุบัติเหตุ เป็นหวัด ภูมิแพ้ คัดจมูก โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะจะนอนหายใจทางปาก เนื่องจากจำเป็นต้องดึงออกซิเจนเข้าปอดให้เพียงพอ สังเกตอาการเบื้องต้นคือนอนหายไม่สะดวกและนอนกรนทุกท่าโดยเฉพาะท่านอนหงาย วิธีแก้ไขคือ การใช้ เทปติดจมูก หรือ คลิปขยายโพรงจมูก ขณะหลับ จะทำให้รูจมูก/โพรงจมูกกว้างขึ้น ทำนอนหลับหายใจโล่ง


กรณีที่ 3 มีทั้ง 2 สาเหตุร่วมกัน คือ มีเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนและระบบทางเดินหายใจไม่ปกติ โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ เคสนี้จะนอนกรนทุกท่า วิธีแก้ไขคือ เลือกใช้ ซิลิโคนครอบฟัน ฟันยางแก้นอนกรน ร่วมกับ เทปติดจมูก หรือ สายคาดคาง ผ้าคาดคาง รัดคางป้องกันกรน ร่วมกับเทปติดจมูก


กรณีที่ 4 สำหรับใช้นอกสถานที่ หรือกรณีเป็นคนที่ไม่อึดอัดกับการใส่นาฬิกาข้อมือ แนะนำ นาฬิกาป้องกันอาการกรน รัดข้อมือ ซึ่งจะส่งสัญญาณผ่านผิวหนังไปยังสมองส่วนกลางสั่งงานให้ร่างกายปรับเปลี่ยนท่านอนที่ผู้ใช้หายใจสะดวกสบาย เกิดการกำจัดนอนกรนโดยอัตโนมัติ



หากยังไม่แน่ใจว่านอนกรนเคสไหน ให้เริ่มจากการใช้เทปติดจมูก หรือ คลิปขยายโพรงจมูก หลังจากใช้แล้วหายใจโล่งแต่ยังมีเสียงกรนอยู่ นั่นอาจหมายถึงเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจอยู่ ก็สามารถนำ ฟันยางแก้นอนกรน ไปแก้ไขภายหลัง